chakun

Work from Home ยังไงให้งานออกมาดี แม้ไม่เข้าออฟฟิศ

วางแผนและจัดสรรเวลาในการทำงานให้ชัดเจน กำหนดเป้าหมายเลยว่าวันนี้จะทำอะไรบ้าง ใช้เวลามากน้อยแค่ไหน แล้วบังคับตัวเองให้ทำตามแผน แต่ต้องไม่ลืมที่จะหาเวลาพักผ่อนระหว่างวันด้วย กำจัดสิ่งต่าง ๆ ที่จะรบกวนสมาธิการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากโทรทัศน์ เสียงแจ้งเตือนจากโทรศัพท์ การเล่น Social Media รวมทั้งพูดคุยกับคนในบ้านให้ชัดเจนว่าคุณต้องการเวลาในการทำงานช่วงไหนบ้าง จัดการตัวเองและสถานที่ให้พร้อมสำหรับการทำงาน ไม่นั่งทำงานในทั้งที่อยู่ในชุดนอน รวมไปถึงหาพื้นที่สำหรับทำงานให้เป็นสัดส่วน และหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นที่ที่คนในบ้านมักจะมาอยู่รวมกัน ควร Feedback งานกันอยู่เสมอเพื่อลดปัญหาในการไม่เข้าใจกัน 

วิธีการสร้างสมาธิในการทำงานที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือบริษัทก็ทำได้

การช่วยงานคนอื่นเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหากเรามีงานสำคัญที่ยังต้องรับผิดชอบอยู่ ก็ต้องรู้จักปฏิเสธให้เป็น อย่าฝืนช่วยงานคนอื่นโดยที่งานตัวเองยังไม่เสร็จ ถ้ารู้สึกไม่มีสมาธิหรือล้าจากการทำงานระหว่างวัน ให้หาเวลาพักสัก 5-15 นาที อย่าทำงานหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียว ให้ทำงานให้เสร็จทีละอย่าง หรือถ้าเป็นคนเบื่อง่าย ไม่ชอบทำงานเดิมนาน ๆ ก็อาจจะทำตารางกำหนดเวลาทำงานแต่ละอย่างให้ชัดเจน ถ้ามีงานที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันก็ให้จัดตารางการทำงานให้เหมือนเดิมทุก ๆ วัน จนเคยชิน ลดโอกาสที่จะถูกรบกวนจากคนอื่น ๆ เช่น ใส่หูฟังเปิดเพลงเบา ๆ ออกจากโปรแกรมแชทต่าง ๆ หรืออาจจะย้ายที่นั่งทำงานไปนั่งในที่ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว ฝึกการควบคุมตัวเอง ไม่ให้วอกแวกไปกับสิ่งรบกวนต่าง ๆ อาจฝึกโดยการหัดกำหนดลมหายใจ เล่นโยคะ หรือนั่งสมาธิ

4 เทคนิคพนักงานออฟฟิศพิชิต Work from Home

เตรียมพร้อมสำหรับการทำงานเมื่อพูดถึง Work from Home กับเรื่องการทำงาน ปัญหาแรกที่คนทำงานออฟฟิศมาตลอดต้องเจอคือ เราไม่สามารถเดินไปถามพี่ที่นั่งอยู่ข้าง ๆ หรืออัปเดตงานได้สะดวกอย่างเคย คนที่เป็นหัวหน้าจึงต้องวางแผนการอัปเดตงานของแต่ละคนในทีม ว่าจะใช้วิธีไหนให้เกิดประสิทธิภาพดีที่สุดในขณะที่แต่ละคนต่างทำงานอยู่ไกลกัน ซึ่งก็มีหลายแอปพลิเคชันที่ทำมาเพื่อให้เราอัปเดตงานกันแบบ Online ได้ อย่าง Trello, Asana, Google Calendar หรือ Microsoft Teams อีกส่วนหนึ่งคือเวลาการทำงาน ซึ่งต้องคุยกับทีมให้ชัดเจนว่าจะทำงานแบบไหน Office Hours: 9 โมงเริ่มงาน 6 โมงเย็นเลิก พักเที่ยง 1 ชั่วโมง จะต้องติดต่อได้ตลอดเวลาทำงาน Flexible Hours: สามารถทำงานเวลาไหนของวันก็ได้ แต่จะมีการกำหนด Deadline ของแต่ละงานว่าต้องส่งเมื่อไหร่แทน ตั้งการวัดผลตัวงานชั่วคราว (กรณีที่ทำได้) ขึ้นมาแทนก่อน อย่างเช่นการเข้าประชุมแบบ Video Conference ว่าแต่ละคนมาเข้าประชุมได้ตรงเวลา และงานที่มอบหมายไปนั้นสามารถทำเสร็จตรงตามเวลาและมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายมากแค่ไหน หากเขาทำได้ไม่ดีก็อาจจะให้เขาปรับปรุง สร้างบทลงโทษ หรือกลับไปทำงานในออฟฟิศแบบเดิม เตรียมพร้อมสำหรับการสื่อสารเมื่อทำงานโดยไม่เจอหน้ากันเหมือนเดิม ก็ต้องหาวิธีอื่น ๆ มาทดแทน […]

5 เรื่องที่คนอยากประสบความสำเร็จต้องรู้

รู้จุดแข็งของตัวเอง รู้จักสิ่งที่ตัวเองถนัด หรือสิ่งที่ตัวเองชอบ เพื่อหาวิธีต่อยอดสิ่งที่เรามีอยู่ หรือว่าจะเริ่มต้นค้นหาความถนัดใหม่ ๆ ที่ยังไม่มี รู้เป้าหมายในอนาคต ว่าอยากทำอะไร ต่อยอดสิ่งนั้นได้อย่างไร จะช่วยให้เราไม่เดินหลงทางหรือเพียงแค่ทำตามกระแสค่านิยม รู้จักรับผิดชอบสิ่งต่าง ๆ ในชีวิต ความรับผิดชอบเป็นสิ่งที่เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก และเป็นสิ่งที่เราควรมี รวมไปถึงเลิกโทษและว่าร้ายคนอื่นด้วย รู้มาตรฐานของตัวเอง ว่ามาตรฐานของเราอยู่ตรงไหน และสร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพราะเมื่อไหร่ที่เราหยุดพัฒนาตัวเอง เท่ากับว่าชีวิตเรากำลังก้าวถอยหลังอยู่ รู้จักสร้างเครือข่าย เพราะในชีวิตการทำงาน การมีเครือข่ายที่กว้างขวางจะทำให้เราสร้างเส้นทางไปสู่ความสำเร็จใหม่ ๆ ได้หลายเส้นทางขึ้น

5 วิธี สร้าง Work-Life Balance อย่างมีประสิทธิภาพ

การทำงานและการใช้ชีวิตไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป หาจุดที่ “พอดี” สำหรับตัวเองให้เจอ แยกสิ่งที่ต้องทำที่ทำงานกับที่บ้านออกจากกันอย่างเด็ดขาด ปฏิเสธเมื่อสิ่งที่คนอื่นขอเกินความสามารถของคุณ และขอความช่วยเหลือจากคนอื่นในเรื่องที่คุณทำไม่ได้จริง ๆ บางงานอาจไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบที่สุด แค่คุณพยายามทำให้มันเต็มที่ที่สุดก็พอแล้ว ให้เวลากับตัวเองในการทำสิ่งที่ชอบ โดยไม่ต้องให้เวลาหรือ To-do List ต่าง ๆ มาเป็นข้อจำกัด

5 เรื่องที่คนทำงาน (อาจ) ต้องเจอเมื่อ Back to Work

เวลาเข้า-ออกงาน ที่ (อาจ) จะเปลี่ยนไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทางช่วงเวลาเร่งด่วนและความแออัดของการโดยสารขนส่งสาธารณะ ซึ่งอาจส่งผลให้เวลาเลิกงานของเราช้าลง หรือเข้างานเร็วขึ้น รูปแบบและเวลาในการเดินทางไม่เหมือนเดิม การเว้นระยะห่างในการต่อแถว การลดจำนวนการโดยสารรถไฟฟ้า และการขึ้นลิฟต์ อาจทำให้คนที่โดยสารขนส่งสาธารณะต้องเผื่อเวลาในการเดินทางไปทำงานมากขึ้น เทคโนโลยีจะกลายมาเป็นอวัยวะที่ 33 อย่างเต็มตัว เราอาจต้องพึ่งพาเทคโนโลยีให้มากขึ้น ในการประชุมทีม การใช้จ่ายโดยไม่ใช้เงินสด ซึ่งหากใครยังไม่พร้อมปรับตัว ก็อาจเกิดความลำบากในการทำงานได้ มีความถี่มากขึ้นในการทำความสะอาดทั้งของใช้ส่วนตัวของตัวเองและของใช้สำนักงานส่วนกลาง ให้ผู้ใช้คนถัดไปทุกครั้งเพื่อความสบายใจและความสะอาดในการจับสิ่งของเหล่านั้น  มีระยะห่างในการใช้ชีวิตปกติ หากออฟฟิศใหญ่โต๊ะทำงานก็อาจจะอยู่ห่างกันมากกว่าเดิม หากออฟฟิศเล็กก็อาจจะมีอะไรมากั้นกลางระหว่างเราและเพื่อนร่วมงานไว้ 

9 สิ่งควรทำถ้ายังหางานไม่ได้สักที

หาข้อดีของการถูกปฏิเสธ แม้จะถูกปฏิเสธงานมาแล้วหลายครั้งก็อย่าเพิ่งท้อ ให้คิดซะว่าการส่งเรซูเม่ หรือไปสัมภาษณ์หลาย ๆ ที่ อย่างน้อยก็ทำให้เราได้ประสบการณ์และได้ฝึกฝนการสัมภาษณ์ไปในตัว เพื่อเอามาพัฒนาในครั้งต่อไป ใครจะไปรู้ล่ะว่าสัมภาษณ์ครั้งต่อไปคุณอาจจะตอบคำถามผู้สัมภาษณ์ได้ไหลลื่นสุด ๆ เลยก็ได้ วางแผนการใช้จ่าย ถ้าไม่มีรายได้ในระหว่างว่างงาน เราจำเป็นต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดให้มากที่สุด ของอะไรที่ไม่จำเป็นทางที่ดีอย่าเพิ่งรีบซื้อ และใช้ช่วงที่ว่างงานนี้เป็นโอกาสในการฝึกวินัยในการใช้เงิน เวลาได้งานและมีเงินเดือนเข้ามา เราจะได้วางแผนการใช้เงินได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้าง Connection การอยู่บ้านเฉย ๆ อาจเป็นการปิดกั้นโอกาสในการได้งาน ลองออกไปทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ตาม Event ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานที่เราสนใจ หรือนัดเจอเพื่อนเก่าจากกลุ่มที่หลากหลายดูบ้าง เพื่อน ๆ หรือคนที่เพิ่งรู้จักกันโดยบังเอิญอาจจะเป็นคนที่ทำให้เราได้งานก็ได้ เรียนเพื่อต่อยอด แทนที่จะปล่อยเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นหรือสาขาวิชาที่สนใจในช่วงที่ว่างงานอยู่ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว แต่ถ้าการเรียนต่อไม่ใช่แนวทางที่ต้องการ อาจลองเปลี่ยนเป็นการเทคคอร์สสั้น ๆ แทน คิดซะว่าใช้เวลาว่างเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อต่อยอดงานในอนาคต และการได้ประกาศนียบัตรหรือได้ปริญญาอีกใบอาจทำให้บริษัทสนใจคุณมากขึ้น พัฒนาทักษะที่ขาด ทุกครั้งที่ไม่ผ่านการสัมภาษณ์งาน ให้กลับมาทบทวนตัวเองว่าเรายังขาดทักษะในด้านใดบ้าง แล้วพัฒนาให้ดีขึ้น โดยเฉพาะทักษะการสื่อสาร เพราะถึงคุณจะเก่งหรือมีประสบการณ์มากแค่ไหน แต่ถ้าสื่อสารออกมาไม่ได้ก็คงไม่มีใครรับคุณเข้าทำงาน ลองฝึกการสื่อสารบ่อย ๆ ทั้งกับคนอื่นๆ หรือซ้อมเองหน้ากระจก ไม่เลือกงานมากเกินไป การหางานไม่ได้สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการเลือกงาน อย่าจำกัดวงในการหาตำแหน่งงานที่แคบเกินไปหรือมีข้อเเม้ในการทำงานมากเกินไป เช่น แทนที่จะหาแต่งานใกล้บ้านเท่านั้น ก็ลองมองหางานที่ไกลบ้านหน่อยแต่ยังเดินทางสะดวก หรือลองดูตำแหน่งงานที่อาจจะไม่ตรงกับที่อยากทำโดยตรง […]

เปิดประตูบานสุดท้ายที่ชื่อว่า การสัมภาษณ์ ให้ถูกวิธี

ศึกษาข้อมูลบริษัทที่จะสมัคร และหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งงานก่อนการสัมภาษณ์ทุกครั้ง เตรียมคำถามที่ต้องการถามบริษัทเอาไว้ เช่น คำถามที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือบริษัท  ฟังคำถามจากผู้สัมภาษณ์ให้ครบถ้วน ตอบคำถามทุกอย่างอย่างจริงใจและมีเหตุผลสนับสนุนเสมอ อย่าพูดถึงจุดด้อยของตัวเองมากเกินจำเป็น หากจำเป็นต้องพูดให้อธิบายเพิ่มเติมว่าจะพัฒนาและแก้ไขอย่างไร อย่าพูดโกหก หรือตอบรับว่าทำได้ทุกอย่างทั้งที่ไม่สามารถทำได้ ควรให้เหตุผลไปตามความจริง เพราะการโกหกอาจจะทำความน่าเชื่อถือทั้งหมดของเรา อย่าพาคนอื่นไปรอที่บริษัทขณะสัมภาษณ์ เพราะจะทำให้เราดูไม่มีความรับผิดชอบและไม่มีวุฒิภาวะ

เพราะทุกคนมีความพิเศษ ตรวจสอบทักษะและความฉลาด 9 ด้านในตัวเอง

ซึ่งความพิเศษและทักษะเหล่านี้ ศาสตราจารย์ โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้เสนอทฤษฎี “พหุปัญญา (Multiple Intelligences)” ที่พูดถึงความหลากหลายของ “ความฉลาด” ว่ามีความฉลาดด้วยกันถึง 9 แบบ ทักษะที่ 1: การใช้ตรรกะและการคำนวณ (Logical-Mathematical Intelligence) ทักษะในเรื่องของการคำนวณ ถือเป็นความฉลาดด้านหนึ่ง แต่ความฉลาดในด้านนี้ไม่ได้เป็นเรื่องของการคิดเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะทักษะนี้ยังรวมไปถึงเรื่องการเป็นคนมีเหตุมีผล วิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างเป็นตรรกะ อย่างการเปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยของสินค้าสองชิ้นเพื่อใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจ แม้เราอาจไม่ได้ถนัดเรื่องเหล่านี้เป็นพิเศษ แต่เชื่อว่าทุกคนต่างก็มีความฉลาดในด้านนี้ไม่มากก็น้อย ทักษะที่ 2: การใช้ภาษา (Linguistic Intelligence) ทักษะในการใช้ภาษาไม่ใช่เพียงการสื่อสารได้หลายภาษา แต่รวมถึงการใช้ภาษาแม่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้ภาษาอย่างรู้กาลเทศะ การเข้าใจความหมายของคำต่าง ๆ การอ่านหนังสืออย่างแตกฉาน การเขียนและการพูดที่ถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่เรารู้สึกได้ หรือแม้แต่การใช้ภาษามือประกอบการพูด การยิ้มทักทายเพื่อนร่วมงาน ก็ถือเป็นทักษะในการใช้ภาษาเช่นเดียวกัน ทักษะที่ 3: การเข้าใจมิติ (Spatial Intelligence) ทักษะการเข้าใจมิติ ไม่ได้หมายถึงมิติอื่น ๆ บนโลก แต่คือการมองสิ่งต่าง ๆ บนโลกเป็น 3 มิติต่างหาก อย่างการวาดรูป “ทรงกลม” ในวิชาศิลปะที่ต้องเติมแสงและเงาให้กับรูปอย่างถูกต้อง หรือข้อสอบความถนัดทางเชาว์ปัญญา (Aptitude Test) ที่ถามว่าการพับกระดาษข้อไหนที่สามารถพับออกมาเป็นลูกเต๋าได้ หรือกุญแจข้อใดที่เข้าคู่กับรูปที่อยู่ในโจทย์ ที่มักจะพบในข้อสอบวิชา Drawing ของวิศวกรรมศาสตร์ และของสถาปัตยกรรมศาสตร์ รวมถึงการสอบใบขับขี่ที่ต้องดึงเชือกเพื่อให้บาร์สองแท่งมาอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน เหล่านี้ก็คือการมองอะไรเป็นภาพ 3 มิตินั่นเอง ทักษะที่ 4: การเข้าใจสิ่งต่าง […]

Positive Thinking สำคัญกับเรามากแค่ไหน

Positive Thinking คืออะไร ? Positive Thinking คือ “การคิดเชิงบวก” ซึ่งไม่ใช่การมองทุกอย่างโดยเอาข้อดีมาปิดข้อเสียแต่เป็นการมองเห็นข้อเสียนั้นแล้วยอมรับความเป็นจริงอย่างเข้าใจ หรือพยายามมองหามุมดี ๆ ที่อาจมีซ่อนอยู่ต่างหาก เพราะว่าทุกสิ่งที่ไม่ราบรื่นนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่เราต้องเจอ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะเลือกมองและรู้สึกกับมันอย่างไร และรู้จักเลือกใช้ประโยชน์จากด้านบวกที่แฝงอยู่จากสิ่งนั้น ๆ แทน ซึ่งโดยปกติแล้วความคิดเชิงลบจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า เพราะธรรมชาติของคนเราพร้อมมองหาความบกพร่องมากกว่ามองเห็นข้อดี แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถฝึกการคิดเชิงบวกได้เลย ข้อดีของการมี Positive Thinking การมี Positive Thinking นั้นจะทำให้สุขภาพจิตของเราดีขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการฝึกทำความเข้าใจ คิดหาเหตุผล และยอมรับต่อสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่มากกว่าเดิม เมื่อเรามีสุขภาพจิตที่ดีสุขภาพกายของเราก็จะดีขึ้นตามด้วย เพราะจิตจะสั่งการสมองให้สร้างฮอร์โมนความสุข ความดันเลือดลดลง และภูมิต้านทานสูงขึ้น นอกจากนี้สิ่งเล็ก ๆ ที่เรามองข้ามมาตลอด อาจจะกลายเป็นแรงบันดาลใจในการทำสิ่งใหญ่ ๆ ของเราได้  แล้วควรทำยังไงให้มี Positive Thinking รู้จักตัวเองทั้งในด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดีก่อนจะมองหาเหตุผลและข้อดีของเรื่องราวทั้งหลาย พื้นฐานต้องเริ่มจากการรู้จักตัวเองทั้งในด้านที่ดีและด้านที่ไม่ดีก่อน เมื่อเรายอมรับข้อเสียในตัวเองก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวเอง พัฒนาข้อดีข้อเสียของตัวเองและรักตัวเองมากขึ้น ยอมรับและทำความเข้าใจในข้อบกพร่องของคนอื่น ข้อเสียของเราเองบางข้อตัวเราเองก็ยังไม่สามารถแก้ไขได้ คนอื่นรอบตัวเราก็ย่อมมีข้อบกพร่องมากน้อยแตกต่างกันออกไป ซึ่งทั้งหมดล้วนขึ้นอยู่กับการโฟกัสของตัวเราเอง ว่าจะมองเขาเป็นแบบไหน ทำความเข้าใจตัวตนของเขาและมองถึงแง่ดี หรือเอาแต่มองแต่ข้อเสียของเขาและทำลายสุขภาพจิตเราเอง มองสิ่งที่ยังมีอยู่ ไม่ใช่สิ่งที่จากไปแล้วอะไรที่ผ่านไปแล้ว บางอย่างเอากลับมาและแก้ไขได้ ในขณะที่บางอย่างทำไม่ได้ ซึ่งหากเรายังมัวแต่คาดหวังว่าสิ่งนั้นจะกลับมาก็จะมีแต่ความทุกข์เปล่า ๆ ให้ลองมองกลับมาที่สิ่งที่ยังมีอยู่ ดูว่าในวิกฤติที่เราเจอนี้มีข้อดีอะไรแฝงอยู่บ้างไหม […]

1 2 3 4 8